วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 5

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น
วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ..2558

กลุ่มเรียน 105 (วันอังคาร) เวลา 08:30 – 12:20 .


ความรู้ที่ได้รับ

          วันนี้เป็นวันที่ดิฉันและเพื่อนๆนัดกันเซอร์ไพรส์อาจารย์ซึ่งอาจารย์ไม่รู้มาก่อนเราได้นัดกันไว้ว่าให้เพื่อนเข้าเรียนกันแค่ 5-6 คนแล้วที่เหลือรออยู่ข้างนอกทำเป็นเหมือนว่าไม่มีใครมาเรียนแล้วจนกระทั่งอาจารย์เริ่มจะงอนเพื่อนที่อยู่ในห้องเลยออกมาเรียกเราทุกคนก็เดินเข้าห้องพร้อมกันพร้อมกับเสียง เพลง HAPPY BIRTHDAY จากที่ดิฉันสังเกตได้รู้สึกว่าอาจารย์ก็ซึ้งอยู่นะคะกับสิ่งที่เราทำให้แอบดีใจ อิอิ  >>> ดีใจนะคะที่อาจารย์ชอบสิ่งที่พวกเรามอบให้เราทุกคนรักและเคารพอาจารย์มากๆนะคะ วันเกิดปีนี้ขอให้อาจารย์มีความสุขมากๆนะคะเป็นอาจารย์ที่น่ารักของพวกเราแบบนี้ตลอดไป


                                          HAPPY BIRTHDAY    นะคะ











บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 4

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น
วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ..2558
กลุ่มเรียน 105 (วันอังคาร) เวลา 08:30 – 12:20 .



ความรู้ที่ได้รับ

          ก่อนเข้าสู่บทเรียนวันนี้อาจารย์ได้ให้ทำกิจกรรมศิลปะ วาดมือของเราข้างที่ไม่ถนัด(ข้างที่ไม่ได้ใช้เขียนหนังสือ)โดยให้สวมถุงมือข้างที่ไม่ถนัดนั้นไว้แล้วให้วาดมือข้างที่ไม่ถนัดนั้นให้เหมือนมากที่สุด

ภาพที่วาด


          เมื่อวาดเสร็จแล้วสรุปว่าไม่เหมือนเลย ทั้งๆที่มือนั้นอยู่กับเรามาถึง 21 ปีแต่เราไม่สามารถวาดรูปมือของเราให้เหมือนจริงได้และเก็บรายละเอียดได้ไม่หมดแถมยังมีการแต่งแต้มเองตามจินตนาการเพราะเราไม่สามารถมองเห็นและจดจำได้ทั้งหมด
          ดังนั้น การวาดภาพมือในครั้งนี้จึงเปรียบเสมือนเด็กที่เราไม่สามารถจดจำพฤติกรรมต่างๆของเด็กได้ทั้งหมดในการสังเกตพฤติกรรมของเด็กดังนั้นเราควรที่จะมีสมุดเล็กๆไว้จดบันทึกลงทันทีเมื่อเห็นเด็กแสดงพฤติกรรมนั้นออกมาไม่ควรที่จะจดจำแล้วนำไปจดบันทึกทีหลังเพราะเราอาจแต่งเติมสิ่งทีเด็กไม่ได้ทำลงไปตามความคิดหรือจินตนาการของเราได้จะทำให้ข้อมูลที่ได้นั้นผิดเพี้ยนไป

เมื่อวาดและสรุปภาพที่วาดเสร็จอาจารย์ก็ได้สอนเนื้อหาที่จะเรียนวันนี้
เนื้อหาที่เรียนมีดังนี้

ทักษะของครูและทัศนคติ
การฝึกเพิ่มเติม                              
-       อบรมระยะสั้น , สัมมนา
-       สื่อต่างๆ
การเข้าใจภาวะปกติ
-        เด็กมักคล้ายคลึงกันมากกว่าแตกต่าง
-        ครูต้องเรียนรู้ , มีปฏิสัมพันธ์กับเด็กปกติและเด็กพิเศษ
-         รู้จักเด็กแต่ละคน
-         มองเด็กให้เป็น “เด็ก”   ถึงเด็กคนนั้นจะเป็นเด็กพิเศษก็ตามคนเป็นครูก็ต้องมองเด็กคนนั้นเป็นเด็กปกติทั่วไปเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมในการถ่ายทอดความรู้ให้กับเด็ก
การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า
-          การเข้าใจพัฒนาการของเด็ก จะช่วยให้ครูสามารถมองเห็นความแตกต่างของเด็กแต่ละคนได้ง่าย
ความพร้อมของเด็ก
-         วุฒิภาวะ
-           แรงจูงใจ
-          โอกาส(เด็กปกติมีโอกาสสูงกว่าเด็กพิเศษ)
การสอนโดยบังเอิญ
        คือ  การที่เด็กเข้ามาถามในสิ่งที่เขาสงสัย  สิ่งที่เขาต้องการอยากรู้ และครูต้องมีความตั้งใจจริงในการช่วยให้เด็กแต่ละคนได้เรียนรู้ และครูควรจะทำให้การเข้ามาถามเรื่องต่างเป็นเรื่องสนุกทำให้เด็กกล้าที่จะเข้ามาปรึกษา
อุปกรณ์
-         มีลักษณะง่ายๆ
-        ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง
-         เด็กพิเศษได้เรียนรู้จากการสังเกตและเลียนแบบเด็กปกติ
-         เด็กปกติเรียนรู้ที่จะให้ความช่วยเหลือเด็กพิเศษ

ตารางประจำวัน
คือ   ควรเป็นตารงที่มีความแน่นอนมั่นคงจะทำให้เด็กรู้สึกปลอดภัย

ทัศนคติของครู                                                                                                            ความยืดหยุ่น
-        การแก้แผนการสอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์
-         ยอมรับขอบเขตความสามารถของเด็ก
-        ครูต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กแต่ละคน

เทคนิคการให้แรงเสริม
แรงเสริมทางสังคมจากผู้ใหญ่
-           ความสนใจของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็กนั้นสำคัญมาก
-           มีแนวโน้มจะเพิ่มพฤติกรรมที่ดีของเด็ก และมักเป็นผลในทันที
-           หากผู้ใหญ่ไม่สนใจพฤติกรรมที่ดีนั้นๆก็จะลดลงและหายไป
หลักการให้แรงเสริมในเด็กปฐมวัย
-           ครูต้องให้แรงเสริมทันทีที่เด็กมีพฤติกรรมอันพึงประสงค์
-           ครูต้องละเว้นความสนใจทันทีและทุกครั้งที่เด็กแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึ่งประสงค์
-            ครูควรให้ความสนใจเด็กนานเท่าที่เด็กมีพฤติกรรมที่พึ่งประสงค์
ขั้นตอนการให้แรงเสริม
                                                                                                                  
-         สังเกตและกำหนดจุดมุ่งหมาย
-        วิเคราะห์งาน กำหนดจุดประสงค์ย่อยๆในงานแต่ละขั้น
-         สอนจากง่ายไปยาก                                                                                                    
-        ให้แรงเสริมทันทีเมื่อเด็กทำได้ หรือเมื่อเด็กพยายามอย่างเหมาะสม
-        ลดการบอกบท เมื่อเด็กเรียนรู้ที่จะก้าวไปขั้นต่อไป
-       ให้แรงเสริมเฉพาะพฤติกรรมที่ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่สุด
-        ทีละขั้น ไม่เร่งรัด “ยิ่งขั้นเล็กเท่าไหร่ ยิ่งดีเท่านั้น
-        ไม่ดุหรือตี
การกำหนดเวลา
-            จำนวนและความถี่ของแรงเสริมที่ให้กับพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กต้องมีความเหมาะสม
ความต่อเนื่อง
-          พฤติกรรมทุกๆอย่างในชีวิตประจำวันต่อเนื่องกันระหว่างพฤติกรรมย่อยๆ หลายๆอย่างรวมกัน
-          เช่น การเข้าห้องน้ำ การนอนพักผ่อน การหยิบและเก็บของ การกลับบ้าน
-          สอนแบบก้าวไปข้างหน้า หรือย้อนมาจากข้างหลัง
การลดหรือหยุดแรงเสริม
-         ครูจะงดแรงเสริมกับเด็กที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
-         ทำอย่างอื่นและไม่สนใจเด็ก
-         เอาอุปกรณ์หรือขอเล่นออกไปจากเด็ก
-         เอาเด็กออกจากการเล่น


เมื่อเรียนเนื้อหาเสร็จอาจารย์ก็ได้สอนร้องเพลงสำหรับเด็กปฐมวัย

เพลงสำหรับเด็กปฐมวัย
เพลง  ฝึกกายบริหาร
ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งแรง
ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งแรง
รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว
รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว

เพลง  ผลไม้
ส้มโอ  แตงโม   แตงไทย
ลิ้นจี่     ลำไย  องุ่น    พุทรา
เงาะ  ฝรั่ง    มังคุด
กล้วย    ละมุด   หน่อยหน่า
ขนุน   มะม่วง   นานาพันธุ์

เพลง กินผักกัน
กินผักกันเถอะเรา
บวบ    ถั่วฝักยาว  ผักกาดขาว   แตงกวา
คะน้า   กวางตุ้ง    ผักบุ้ง   โหระพา
มะเขือเทศสีดา  ฟักทอง  กะหล่ำปลี

เพลง  ดอกไม้
ดอกไม้ต่างพันธุ์     สวยงามสดใส
เหลือง  แดง   ม่วงมี   แสด   ขาว   ชมพู

เพลง จ้ำจี้ดอกไม้
จ้ำจี้ดอกไม้  ดาวเรือง  หงอนไก่
จำปี  จำปา  มะลิ  พิกุล
กุหลาบ  ชบา  บานชื่น  กระดังงา
เข็ม  แก้ว  ลัดดา   เฟื่องฟ้า  ราตรี

ผู้แต่ง  อ.ศรีนวล    รัตนสุวรรณ
เรียบเรียง  อ.ตฤณ     แจ่มถิน



การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- สามารถนำเอาเทคนิคการสอนโดยให้นักเรียนวาดรูปก่อนเข้าสู้บทเรียนไปใช้กับเด็กในอนาคตได้
- สามารถนำเอาความรู้ที่ได้นั้นมาจัดการเรียนการสอนได้ตรงตามความต้องการของเด็ก
- ทำให้รู้ว่าการที่ครูจะจดบันทึกพฤติกรรมของเด็กนั้นควรบันทึกด้วยความจริงเรื่องจริงที่เห็นเท่านั้นไม่ควรไปเพิ่มหรือใส่ความรู้สึกของตัวเองเข้าไปด้วยโดยเด็ดขาด
- สามารถนำเอาเทคนิคการร้องเพลงไปใช้กับเด็กได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
- สามารถนำเอาบทเพลงที่ได้ในวันนี้ไปใช้ร้องกับเด็กๆทั้งเด็กปกติและเด็กพิเศษได้เป็นอย่างดี

การประเมินการเรียนการสอน
ตนเอง = เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อยตั้งใจวาดภาพมือเป็นอย่างมากและตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอนพร้อมจดบันทึกในประเดนที่สำคัญและตัวอย่างที่อาจารย์ยกมาเป็นตัวอย่าง
 เพื่อน  = เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่ก็มีบางคนมาสายแต่เป็นส่วนน้อย ทุกคนแต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจทำกิจกรรมวาดมือที่ไม่ถนัดและตั้งใจเรียนและตอบคำถามที่ครูถามหลังเรียนจบได้เป็นอย่างดีและร่วมกันร้องเพลงมีเพี้ยนบ้างเล็กน้อยแต่ก็ดีกว่าทุกครั้ง
อาจารย์ = อาจารย์ยังน่ารักเหมือนทุกๆครั้งคะ วันนี้มีเทคนิคการสอนที่น่าสนใจคือให้นักศึกษาวาดมือของตัวเองเมื่อวาดเสร็จอาจารย์ก็อธิบายถึงความหมายที่ให้วาดนี้ว่าให้วาดเพราะอะไร และที่อาจารย์ให้วาดก็เพราะอยากให้เปรียบเทียบกับการที่เราบันทึกพฤติกรรมของเด็กว่าไม่ควรแต่งเติมสิ่งอื่นนอกเหนือจากสิ่งที่เด็กเป็นให้บันทึกพฤติกรรมเด็กทันทีเมื่อสังเกตเห็นทำให้เราได้ความรู้ในเรื่องนี้เพิ่มมากขึ้นเพียงแค่การวาดภาพมือเท่านั้นและอาจารย์ก็สอนดีมากๆมีการยกตัวอย่างให้เห็นภาพอยู่เสมอทำให้นักศึกษาเข้าใจมากยิ่งขึ้น





วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 3

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น
วันที่ 27 มกราคม พ..2558

กลุ่มเรียน 105 (วันอังคาร) เวลา 08:30 – 12:20 .


ความรู้ที่ได้รับ
           วันนี้อาจารย์ได้เริ่มการเรียนการสอนโดยให้นักศึกษาวาดรูปเหมือนจริง ซึ่งรูปที่นำมาเป็นแบบนั้นคือรูปดอกทานตะวัน ดิฉันวาดรูปออกมาได้ดังภาพต่อไปนี้

รูปดอกทานตะวัน

รูปที่ดิฉันวาด

           จากนั้นอาจารย์ก็ได้ให้บรรยายสิ่งที่เห็นในรูปดอกทานตะวันว่าเราเห็นอะไรบ้างให้บรรยายออกมา สิ่งที่ดิฉันเห็นในรูปดอกทานตะวัน คือ
ความสดชื่น ความมั่นใจ ความสง่า และ ความงาม ซึ่งในความงามทั้งหมดนั้นซ่อนความมืดไว้อยู่ภายในแต่ยังสามารถยืนอยู่ได้ด้วยความมั่นใจได้อย่างสง่างาม”  
           จากนั้นอาจารย์ก็ได้เชื่อมโยงกิจกรรมที่อาจารย์ให้ทำนั้นเข้าสู้เนื้อหาที่จะเรียนแต่ก่อนจะเข้าสู้เนื้อหาอาจารย์ก็ได้ฝากไว้ว่า การสังเกตและจดบันทึกพฤติกรรมเด็กปฐมวัยนั้นเราควรบันทึกด้วยความจริงเรื่องจริงที่เห็นเท่านั้นไม่ควรไปเพิ่มหรือใส่ความรู้สึกของตัวเองเข้าไปด้วยโดยเด็ดขาด จากนั้นอาจารย์ก็ได้เข้าสู้เนื้อหาที่จะเรียนมีเนื้อหา ดังนี้

บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม

ครูไม่ควรวินิจฉัย
• การวินิจฉัย หมายถึงการตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่าง
• จากอาการที่แสดงออกมานั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้
ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
• เกิดผลเสียมากกว่าผลดี
• ชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป
• เด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ
ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
• พ่อแม่ของเด็กพิเศษ มักทราบดีว่าลูกของเขามีปัญหา
• พ่อแม่ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้ว
• ครูควรพูดในสิ่งที่เป็นความคาดหวังในด้านบวก แต่ต้องไม่ให้เกิดความหวังผิดๆ
• ครูควรรายงานผู้ปกครองว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง เท่ากับเป็นการบอกว่าเด็กทำอะไรไม่ได้
• ครูช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวังและเห็นแนวทางที่จะช่วยให้เด็กพัฒนา
ครูทำอะไรบ้าง
• ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ
• ให้ข้อแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือวินิจฉัย
• สังเกตเด็กอย่างมีระบบ
• จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ
สังเกตอย่างมีระบบ
ไม่มีใครสามารถสังเกตอย่างมีระบบได้ดีกว่าครู
• ครูเห็นเด็กในสถานการณ์ต่างๆ ช่วงเวลายาวนานกว่า
• ต่างจากแพทย์ นักจิตวิทยา นักคลินิก มักมุ่งความสนใจอยู่ที่ปัญหา
การตรวจสอบ
• จะทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร
• เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กดีขึ้น
• บอกได้ว่าเรื่องใดบ้างที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ
ข้อควรระวังในการปฏิบัติ
• ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้
• ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้
• พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฏให้เห็นเสมอไป
การบันทึกการสังเกต
การนับอย่างง่ายๆ
• การบันทึกต่อเนื่อง
• การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
• บันทึกลงบัตรเล็กๆ
• เป็นการบันทึกสั้นๆเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนในช่วงเวลาหนึ่ง
การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป
• ควรเอาใจใส่ถึงระดับความมากน้อยของความบกพร่อง มากกว่าชนิดองความบกพร่อง
• พฤติกรรมไม่เหมาะสมที่พบได้ในเด็กทุกคน ไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ
การตัดสินใจ
• ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง
พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้น ไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่

           จากนั้นก็ได้สอนร้องเพลงสำหรับเด็กปฐมวัยมีทั้งหมด 5 เพลงแต่วันนี้อาจารย์สอนหนึ่งเพลงก่อน เนื้อเพลงมีดังนี้

เพลงสำหรับเด็กปฐมวัย

เพลง ฝึกกายบริหาร
ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งแรง
ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งแรง
รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว
รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว



การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- สามารถนำเอาเทคนิคการสอนโดยให้นักเรียนวาดรูปก่อนเข้าสู้บทเรียนไปใช้กับเด็กในอนาคตได้
- ทำให้รู้ว่าการที่ครูจะจดบันทึกพฤติกรรมของเด็กนั้นควรบันทึกด้วยความจริงเรื่องจริงที่เห็นเท่านั้นไม่ควรไปเพิ่มหรือใส่ความรู้สึกของตัวเองเข้าไปด้วยโดยเด็ดขาดสามารถนำความรู้นี้ไปใช้กับเด็กได้ในอนาคต
 - สามารถนำเอาความรู้ที่ได้นั้นมาจัดการเรียนการสอนได้ตรงตามความต้องการของเด็ก
- สามารถนำเอาบทเพลงที่ได้ในวันนี้ไปใช้ร้องกับเด็กๆทั้งเด็กปกติและเด็กพิเศษได้เป็นอย่างดี
- สามารถนำเอาเทคนิคการร้องเพลงไปใช้กับเด็กได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

การประเมินการเรียนการสอน
ตนเอง = เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อยตั้งใจวาดภาพดอกทานตะวันเป็นอย่างมากและตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอนพร้อมจดบันทึกในประเดนที่สำคัญและยังให้ความร่วมมือในการตอบคำถามภายในห้องช่วยเพื่อน
เพื่อน  = วันนี้รู้สึกว่าเพื่อนๆพูดเก่งโดยเฉพาะเพื่อนโต๊ะข้างๆดิฉันแต่อาจารย์ก็เตือนและเรียกสติกับมาและทำให้เงียบกันมากขึ้นและทุกคนก็ให้ความร่วมมือในการฝึกร้องเพลงเป็นอย่างดี
อาจารย์ = อาจารย์ยังน่ารักเหมือนทุกๆครั้งคะ วันนี้มีเทคนิคการสอนที่แปลกว่าทุกวันเพราะให้วาดภาพก่อนเข้าสู้บทเรียนและอาจารย์สอนเนื้อหาได้ครบถ้วนทุกอย่างเข้าใจง่ายเพราะมีการยกตัวอย่างทำให้นักศึกษาเห็นภาพมากขึ้น