วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2558


บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 10

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น
วันที่ 24   มีนาคม    พ..2558

กลุ่มเรียน 105 (วันอังคาร) เวลา 08:30 – 12:20 .



วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นการสอบเก็บคะแนน






บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 9

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น
วันที่ 17   มีนาคม    พ..2558
กลุ่มเรียน 105 (วันอังคาร) เวลา 08:30 – 12:20 .



ความรู้ที่ได้รับ

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
 ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด
การกินอยู่
 
การเข้าห้องน้ำ
 
การแต่งตัว
 
กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน
การสร้างความอิสระ
-เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
-อยากทำงานตามความสามารถ
-เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่า และผู้ใหญ่
ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
-การได้ทำด้วยตนเอง
-เชื่อมั่นในตนเอง
-เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี
หัดให้เด็กทำเอง
-ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ใจแข็ง)
-ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป
-ทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เองหากให้เวลาเขาทำ
- “ หนูทำช้า ”  “ หนูยังทำไม่ได้ ”
จะช่วยเมื่อไหร่
-เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร , หงุดหงิด , เบื่อ , ไม่ค่อยสบาย
-หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
-เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม

ตัวอย่าง ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 2-3 ปี)
การแต่งตัว
ถอดเสื้อออกได้
เปลี่ยนเสื้อได้
- อาจเลิกทำได้ง่ายๆ
-ต้องการคนช่วยเหลือแต่ก็ร่วมมือดี
การกินอาหาร
ใช้ช้อนส้อมได้
แต่ชอบใช้มือและช้อนมากกว่า
- ป้อนอาหารที่ชอบได้เอง
-ดื่มน้ำจากแก้วได้
การอาบน้ำและการเข้าห้องน้ำ
-บอกว่าจะเข้าห้องน้ำได้โดยไม่ทำเลอะก่อน
- กลั้นปัสสาวะ อุจจาระได้
ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
-แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
-เรียงลำดับตามขั้นตอน
การเข้าส้วม
-เข้าไปในห้องส้วม
-ดึงกางเกงลงมา
-ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
-ปัสสาวะหรืออุจจาระ
-ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น
-ทิ้งกระดาษชำระในตะกร้า
-กดชักโครกหรือตักน้ำราด
-ดึงกางเกงขึ้น
-ล้างมือ
-เช็ดมือ
-เดินออกจากห้องส้วม
การวางแผนทีละขั้น
-แยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยๆให้มากที่สุด
สรุป
-ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
-ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ
-ความสำเร็จขั้นเล็กๆนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
-ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง

-เด็กพึ่งตนเองได้ รู้สึกเป็นอิสระ

กิจกรรมในห้องเรียน

วงกลมตามความรู้สึก




ต้นไม้แห่งชีวิต








การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- เพื่อช่วยเหลือและส่งเสริมพัฒนาการด้านการช่วยเหลือตนเองของเด็กได้อย่างถูกวิธี
- สามารถนำเอาเทคนิคการสอนโดยให้นักเรียนวาดรูปวงกลมตามความรู้สึกนั้นไปใช้กับเด็กได้ในอนาคต
- สามารถนำเรื่องการย่อยงานไปใช้กับเด็กให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
 - สามารถนำเอาความรู้ที่ได้นั้นมาจัดการเรียนการสอนได้ตรงตามความต้องการของเด็ก



การประเมินการเรียนการสอน
ตนเอง = เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อยและตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอนพร้อมจดบันทึกในประเดนที่สำคัญและตัวอย่างที่อาจารย์ยกมาเป็นตัวอย่าง
 เพื่อน  = เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่ก็มีบางคนมาสายแต่เป็นส่วนน้อย ทุกคนแต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจเรียนและจดบันทึกความรู้ที่ครูสอนเป็นอย่างดีกันทุกคน
 อาจารย์ = เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกาสุภาพเรียบร้อย  ในการสอนแต่ละครั้งอาจารย์จะมีตัวอย่างและท่าทางประกอบมาให้ดูเพื่อให้เข้าใจง่ายมากขึ้นและนำกิจกรรมมาให้นักศึกษาได้ทำกันตลอดในกิจกรรมวงกลม อาจารย์ก็จะเดินดูและบอกลักษณะนิสัยให้กับทุกคน







วันพุธที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2558


บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 8

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น
วันที่ 10   มีนาคม    พ..2558
กลุ่มเรียน 105 (วันอังคาร) เวลา 08:30 – 12:20 .



ความรู้ที่ได้รับ

            วันนี้มีเพื่อนๆอีกกลุ่มมาเรียนด้วยทำให้ห้องเรียนคึกคักมากขึ้นเพราะเพื่อนกลุ่มนี้อยู่สองแบบคือคนที่ตั้งใจเรียนมากกับอีกแบบคือเรียนไปฮาไปรั่วไปด้วยก็ทำให้เกิดสีสันมากขึ้นภายในห้องและวันนี้ก็เริ่มการเรียนการสอนโดยการเล่นเกมตอบคำถามจากภาพเป็นการเรียกสมาธินักศึกษาและช่วยแก้ง่วงได้เป็นอย่างดีเพราะคำถามที่อาจารย์นำมาถามนั้นมีความหมายที่เกินคาดทำให้นักศึกษาทุกคนยิ้มและหัวเราะกันอย่างสนุกสนานจากที่ยังง่วงๆกันทำให้ตาสว่างและพร้อมที่จะเรียนรู้ จากนั้นอาจารย์ก็ได้สอนเนื้อหาเกี่ยวกับ “การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
      ทักษะภาษา
การวัดความสามารถทางภาษา
-เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
-ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
-ถามหาสิ่งต่างๆไหม
-บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
-ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม
การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด
-การพูดตกหล่น
-การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง
-ติดอ่าง
การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
-ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
-ห้ามบอกเด็กว่า  “พูดช้าๆ”   “ตามสบาย”   “คิดก่อนพูด
-อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
-อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
-ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
-เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน
ทักษะพื้นฐานทางภาษา
-ทักษะการรับรู้ภาษา
-การแสดงออกทางภาษา
-การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด
พฤติกรรมตอบสนองการแสดงออกทางภาษา
-ตอบสนองของเสียงครูโดยการหันมามอง
-ตอบสนองกับคำพูด
พฤติกรรมเริ่มการแสดงออกของเด็ก
-ทำเสียงต่างๆผสมปนเปกัน
-ทำเสียงคล้ายพูดหรือเรียกร้องความสนใจ
-เล่าได้ว่าเกิดอะไรขึ้น
-ตั้งคำถาม ว่า ทำไม
ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
-การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
-ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
-ให้เวลาเด็กได้พูด
-คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)
-เป็นผู้ฟังที่ดีและโตต้อบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
-เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
-ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
-กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า)
-เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
-ใช้คำถามปลายเปิด
-เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
-ร่วมกิจกรรมกับเด็ก

            จากนั้นอาจารย์ก็ได้ให้ดู VDO ผลิบานผ่านมือครู ตอนจังหวะกายจังหวะชีวิต
 ของโรงเรียนอนุบาลบ้านพลอยภูมิ

VDO ผลิบานผ่านมือครู ตอนจังหวะกายจังหวะชีวิต


ความรู้จากการดูวีดีโอ จังหวะกาย จังหวะชีวิต
- ได้รู้จักการจัดกิจกรรมในรูปแบบต่างๆให้กับเด็กทั้งเด็กปกติและเด็กพิเศษ
- ได้รู้จักการฝึกการทรงตัวของเด็กผ่านกิจกรรมต่างๆ
- ได้รู้จักการจัดกิจกรรมให้เด็กได้มีสมาธิ
- ได้รู้จักการฝึกให้เด็กรู้จักการรอคอย การฟัง โดยผ่านการทำกิจกรรมซึ่งในช่วงแรกเด็กจะไม่ค่อยทำแต่พอนำมาจัดซ้ำๆบ่อยๆเด็กก็เริ่มฟังจังหวะได้
- ได้รู้จักเทคนิคในการจัดกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ

            จากนั้นอาจารย์ก็ได้ให้จับคู่กัน 2 คน เพื่อให้ทำกิจกรรม คือกิจกรรมดนตรีบำบัด” อาจจะเหมือนกับสัปดาห์ที่แล้วแต่ครั้งนี้ให้ลากเป็นเส้นตรงตามเสียงดนตรีที่ได้ยินห้ามยกมือขึ้นให้ลากไปเลื่อยๆจนกว่าเสียงดนตรีจะหยุด เมื่อเสียงดนตรีหยุดอาจารย์ก็ได้ให้ดูว่าส้นที่เราวาดนั้นมีส่วนไหนที่ติดกันบ้างแล้วให้ระบายสีในช่องที่มี่เส้นติดกันดิฉันและเพื่อนก็ได้ช่วยกันสื่อออกมาได้ดังภาพนี้

ผลงานของกลุ่มดิฉัน   



  ผลงานของทุกกลุ่ม




การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- สามารถนำความรู้ในการปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่ไปปฏิบัติใช้กับเด็กได้ถูกต้องและเหมาะสม
- สามารถนำเอาเทคนิคการจัดกิจกรรมดนตรีบำบัดไปปรับใช้กับเด็กได้ในอนาคตได้
- สามารถนำเอาบทเพลงที่ได้ในวันนี้ไปใช้ร้องกับเด็กๆทั้งเด็กปกติและเด็กพิเศษได้เป็นอย่างดี
 - สามารถนำเอาความรู้ที่ได้ดูจาก VDO ในการจัดกิจกรรมต่างๆไปใช้กับเด็กได้ในอนาคต
- ครูต้องเข้าใจพัฒนาการทางภาษาของเด็กเด็กพิเศษบางคนจะไม่ตอบครูครูต้องคอยส่งคำตอบให้กับเด็ก
- ครูผู้สอนไม่ควรให้ความสนใจเด็กพิเศษมากกว่าเด็กปกติหรือให้ความสนใจเด็กปกติมากกว่าเด็กพิเศษครูต้องให้ความสนใจเด็กเท่าเทียมกัน

การประเมินการเรียนการสอน
ตนเอง = เข้าเรียนตรงเวลาแต่งกายสุภาพเรียบร้อยตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอนพร้อมจดบันทึกในประเดนที่สำคัญและยังให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมทุกกิจกรรมอย่างเติมที่
เพื่อน  = วันนี้มีเพื่อนๆอีกกลุ่มมาเรียนด้วยทำให้ห้องเรียนคึกคักมากขึ้นเพราะเพื่อนกลุ่มนี้อยู่สองแบบคือคนที่ตั้งใจเรียนมากกับอีกแบบคือเรียนไปฮาไปรั่วไปด้วยก็ทำให้เกิดสีสันมากขึ้นภายในห้องแต่วันนี้รู้สึกว่าเพื่อนๆพูดเก่งโดยเฉพาะเพื่อนโต๊ะข้างๆและข้างหลังเพื่อนสนิทดิฉันเลยไม่รู้คุยไรกันหัวเราะกันอยู่นั้นแหละแต่อาจารย์ก็เตือนและเรียกสติกับมาพอสักพักก็คุยอีกและ แต่พออาจารย์ให้ทำกิจกรรมก็ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมและการฝึกร้องเพลงเป็นอย่างดี
อาจารย์ = วันนี้อาจารย์มีเทคนิคการสอนโดยการมีคำถามที่มีความหมายฮาฮามาให้เด็กได้ทำก่อนเข้าสู้บทเรียนและอาจารย์สอนเนื้อหาได้ครบถ้วนทุกอย่างเข้าใจง่ายเพราะมีการยกตัวอย่างทำให้นักศึกษาเห็นภาพมากขึ้นมีกิจกรรมท้ายคาบที่น่าสนใจและฝึกสมาธิของเด็กได้เป็นอย่างดี