บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 12
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วันที่ 7 เมษายน
พ.ศ.2558
กลุ่มเรียน 105 (วันอังคาร) เวลา 08:30 – 12:20 น.
ความรู้ที่ได้รับ
การเรียนการสอนในวันนี้เรียนในเรื่องของ
การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ (ทักษะพื้นฐานทางการเรียน)
เป้าหมาย
• การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้
• มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
• เด็กรู้สึกว่า “ฉันทำได้”
• พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
• อยากสำรวจ อยากทดลอง
ช่วงความสนใจ
• ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ
• จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร
การเลียนแบบ
การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
• เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่
• เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
• คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่
การรับรู้ การเคลื่อนไหว
• ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น
• ตอบสนองอย่างเหมาะสม
การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก
• การกรอกน้ำ ตวงน้ำ
• ต่อบล็อก
• ศิลปะ
• มุมบ้าน
• ช่วยเหลือตนเอง
ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ
• ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่
• รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก
ความจำ
• จากการสนทนา
• เมื่อเช้าหนูทานอะไร
• แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
• จำตัวละครในนิทาน
• จำชื่อครู เพื่อน
• เล่นเกมทายของที่หายไป
ทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์
การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
• จัดกลุ่มเด็ก
• เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
• ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
• ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
• ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
• ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
• บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
• รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
• มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
• เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
• พูดในทางที่ดี
• จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว
• ทำบทเรียนให้สนุก
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- สามารถนำเอาความรู้ในการทดสอบความเข้าใจในการฟังคำสั่งของเด็กพิเศษโดยการให้เด็กพิเศษไปยิบสิ่งของแต่การที่จะให้เด็กพิเศษทำนั้นควรให้มีเด็กปกติทำเป็นแบบอย่างด้วยเพราะเด็กจะปฏิบัติได้เร็วและดีมากขึ้นโดยเด็กพิเศษจะมีพฤติกรรมเรียนแบบเด็กปกติ(เด็กพิเศษส่วนมากมักจะมีพฤติกรรมการลอกเรียนแบบ)
- สามารถนำเอาความรู้ในการเสริมแรงจูงใจให้เด็กโดยการให้เด็กทำกิจกรรมหรือกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองเด็กจะเกิดความภาคภูมิใจในตนเองทำให้เด็กมีความมั่นใจในตนเองมากขึ้น
- สามารถนำเอาความรู้ในการให้เด็กทำตามคำสั่งหรือคำแนะนำนั้นครูควรดูว่าเด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดหมดหรือไม่และถ้าจะให้เด็กทำอะไรก็ตามครูควร”เรียกชื่อเด็ก”ก่อนเสมอ
- สามารถนำเอาความรู้ในการใช้นิทานว่าการใช้นิทานเริ่มแรกกับเด็กพิเศษนั้นก็เหมือนการทำกิจกรรมครูควรใช้นิทานสั่นๆกับเด็กก่อน
การประเมินการเรียนการสอน
ตนเอง = เข้าเรียนสายสิบนาที แต่งกายสุภาพเรียบร้อยและตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอนพร้อมจดบันทึกในประเดนที่สำคัญและจดบันทึกตัวอย่างที่อาจารย์ยกมาเป็นตัวอย่างทุกตัวอย่างที่อาจารย์ยกมา
เพื่อน = เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่ก็มีบางคนมาสายแต่เป็นส่วนน้อย
ทุกคนแต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจเรียนและจดบันทึกความรู้ที่ครูสอนเป็นอย่างดีกันทุกคน
อาจารย์ = เข้าสอนตรงต่อเวลา
แต่งกาสุภาพเรียบร้อย ในการสอนแต่ละครั้งอาจารย์จะมีการยกเหตุการณ์ตัวอย่างมาอธิบายให้นักศึกษาได้เข้าใจกับสถานการณ์จริงว่าวันข้างหน้าเราจะเจอกับเหตุการณ์ใดบ้างและจะมีวิธีรับมือกับเหตุการณ์นั้นอย่างไร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น