วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 14

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น
วันที่ 30   เมษายน    พ..2558
กลุ่มเรียน 105 เวลา 08:30 – 12:20 .



ความรู้ที่ได้รับ

            วันนี้เป็นการเรียนการสอนวันสุดท้าย อาจารย์ได้นัดมาสอบร้องเพลงโดยการสอบครั้งนี้เป็นการสอบที่ตื่นเต้นมากเพราะ อาจารย์ได้ทำการจับฉลากสุ่มเลขที่แต่ละคนที่จะออกมาร้องเพลง แต่ความตื่นเต้นยังไม่หมดเพียงแค่นั้นเมื่อใครได้ถูกสุ่มจับฉลากออกไปแล้วก็ต้องจับฉลากสุ่มเลือกเพลงซึ่งไม่มีใครรู้เลยว่าแต่ละคนจะได้เพลงอะไร
          เมื่ออาจารย์ได้ลงมือจับฉลากขึ้นมากความตื้นเต้นของดิฉันก็เริ่มเพิ่มมากขึ้นและดิฉันก็เชื่อว่าเพื่อนๆทุกคนในห้องก็ตื้นเต้นไม่แพ้กันแต่อาจารย์ยังมีความเมตตาใจดีกับนักศึกษาอยู่มากพอสมควรจึงมีตัวช่วยให้เลือกถึง 3 ตัวช่วยด้วยกัน คือ
1.เมื่อจับฉลากเพลงขึ้นมากแล้วสามารถเปลี่ยนเพลงใหม่ได้แต่จะโดนหักคะแนน 0.5 คะแนน 
2. เมื่อจับฉลากเพลงขึ้นมากแล้วสามารถดูเนื้อเพลงได้แต่จะโดนหักคะแนน 1 คะแนน 
3. เมื่อจับฉลากเพลงขึ้นมากแล้วจำทำนองไม่ได้ให้ขอตัวช่วยเพื่อนให้ร้องทำนองให้ฟังได้ แต่จะโดนหักคะแนน 1คะแนน  
           และแล้วช่วงเวลาอันตื่นเต้นก็มาถึง หมายต่อไปคือเลขที่12 นางสาวดาริกา แก้วผัด ความรู้สึกตอนนั้นตื่นเต้นมากมือเย็นไปหมดในใจภาวนาขอให้ได้เพลงที่ตัวเองถนัดและแล้วก็ถึงเวลาที่ต้องจับฉลากขึ้นมาผลปรากฏว่าได้ เพลง กินผักกัน ดีใจมากเพราะเป็นเพลงที่ชอบและจำเนื้อเพลงและทำนองได้ครบแต่ก็ไม่ประมาทก่อนร้องให้เพื่อนและอาจารย์ฟังก็ซ้อมไป1รอบแล้วจึงร้องออกไป 
เพลง กินผักกัน
กินผักกันเถอะเรา
บวบ ถั่วฝักยาว ผักกาดขาว แตงกวา
คะน้า กวางตุ้ง ผักบุ้ง โหระพา
มะเขือเทศสีดา ฟักทอง กะหล่ำปลี

           ในขณะที่ร้องเสียงก็แอบสั่นอยู่บ้างเพราะความตื่นเต้นแต่ก็ร้องสุดความสามารถและตั้งใจมากๆ และแล้วการสอบร้องเพลงวันนี้ของดิฉันก็ผ่านไปได้ด้วยดี



ความประทับใจ

ความประทับใจที่มีต่อเพื่อนในห้อง

          ตั้งแต่เรียนมหาลัยมาก็มีห้องเรียนห้องนี้ที่ดิฉันมีความประทับใจที่สุดเพราะเพื่อนทุกคนน่ารักตั้งใจเรียนและให้เกียรติกันและกันเสมอมาให้ความร่วมมือภายในห้องในการทำกิจกรรมทุกกิจกรรมและคอยแนะนำและชี้แจงข่าวสารต่างๆให้กันและกันเป็นอย่างดีคอยให้กำลังใจและสนับสนุนร่วมใจและสามัคคีกันในทุกๆเรื่องและทุกรายวิชา มีความเป็นกันเองทุกคนไม่มีการถือตัวมีความรักใคร่กลมเกลียวกันเป็นอย่างดี รักเพื่อนๆกลุ่มนี้มากๆค่ะ

ความประทับใจที่มีต่ออาจารย์
          ก่อนอื่นต้องบอกเลยว่าตั้งแต่ที่เรียนมาไม่มีอาจารย์ท่านไหนเข้าใจความรู้สึกของนักศึกษาได้เท่ากับอาจารย์ เบียร์ เลยอาจารย์ไม่เพียงแต่เข้าใจความรู้สึกของนักศึกษาเพียงอย่างเดียวอาจารย์ยังค่อยให้คำปรึกษาคำแนะนำให้กับนักศึกษาในทุกเรื่องแม้กระทั้งเรื่องส่วนตัวถ้าปรึกษาอาจารย์ อาจารย์ก็ยินดีให้คำปรึกษากับนักศึกษาทุกคนเป็นอย่างดีรวมไปถึงเรื่องของการสอนของอาจารย์อาจารย์ก็สอนเต็มทีเข้าสอนตรงเวลาทุกครั้งและในการให้ความรู้อาจารย์ก็ให้ความรู้กับนักศึกษาโดยละเอียดมีการยกตัวอย่างสถานการณ์ต่างๆมาให้เด็กได้คิดตามและเห็นภาพในเรื่องที่อาจารย์กำลังให้ความรู้อยู่เสมอที่สำคัญอาจารย์ไม่เคยดุหรือว่านักศึกษาเลยแม้แต่ครั้งเดียว ดิฉันจึงมีความประทับใจอาจารย์มากๆค่ะ เป็นไปได้อยากเรียนกับอาจารย์ทุกๆเทอมชอบรูปแบบการสอนของอาจารย์เป็นอย่างมากค่ะ













บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 13

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น
วันที่ 21   เมษายน    พ..2558
กลุ่มเรียน 105 (วันอังคาร) เวลา 08:30 – 12:20 .



ความรู้ที่ได้รับ
           วันนี้เป็นการเรียนการสอนในเรื่องของการเขียนแผนIEP ซึ่งอาจารย์มีเนื้อหาในการเขียนแผนIEP ว่าต้องเขียนอย่างไรและมีตัวอย่างในการเขียนแผนIEP มาให้นักศึกษาได้ดูเป็นตัวอย่างและได้ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ5 คนให้ทดลองเขียนแผนIEP เนื้อหาที่อาจารย์ได้นำมาให้ความรู้มี ดังนี้

โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล  (Individualized Education Program)

แผนIEP
แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น /ช่วยกันร่างหลายคน 
                             -ครู
                             -การศึกษาพิเศษ
                              -ผู้อำนวยการ
                              -ประชุมผู้ปกครอง
-เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและ-ความสามารถของเขา
-ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
-โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก

การเขียนแผน IEP
-คัดแยกเด็กพิเศษ
-ต้องเห็นพฤติกรรมเด็กก่อน
 -เห็นบริบทก่อน ใกล้ชิดเด็ก
-ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
-ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด
-เด็กสามารถทำอะไรได้  / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
-แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP

IEP ประกอบด้วย
-ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
-ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
-การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
-เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
-ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
-วิธีการประเมินผล

ประโยชน์ต่อเด็ก
-ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน                                                      
-ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
-ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
-ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ

ประโยชน์ต่อครู
-เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
-เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
-ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
-เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
-ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ

ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
-ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
-ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
-เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน

ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
1.การรวบรวมข้อมูล
-รายงานทางการแพทย์
- รายงานการประเมินด้านต่างๆ
-บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง
 2.การจัดทำแผน
-ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
-พ่อแม่
-ครูประจำชั้น
-ครูการศึกษาพิเศษ
-ผู้บริหาร
-ครูที่สอนเสริม
-กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
-กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
-จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

การกำหนดจุดมุ่งหมาย
-ระยะยาว
-ระยะสั้น

จุดมุ่งหมายระยะยาว
-กำหนดให้ชัดเจน แม้จะกว้าง /ครอบคลุมทุกสิ่งแต่ต้องกำหนดเป้าหมายชัดเจน
-น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้
-น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่นได้ดีขึ้น
-น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆได้

จุดมุ่งหมายระยะสั้น
-ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก เช่น ด้านใดด้านหนึ่ง
-เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์
-จะสอนใคร
-พฤติกรรมอะไร
-เมื่อไหร่ ที่ไหน (ที่พฤติกรรมนั้นจะเกิด)
-พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน

ตัวอย่างที่ 1
ใคร                                                    อรุณ
อะไร                                                 กระโดดขาเดียวได้                            
เมื่อไหร่ / ที่ไหน                               กิจกรรมกลางแจ้ง
ดีขนาดไหน                                      กระโดดได้ขาละ 5 ครั้ง ในเวลา 30 วินาที
ตัวอย่างที่ 2
ใคร                                    ธนภรณ์
อะไร                                  นั่งเงียบๆโดยไม่พูดคุย                      
เมื่อไหร่ / ที่ไหน                 ระหว่างครูเล่านิทาน
ดีขนาดไหน                        ช่วงเวลาการเล่านิทาน 10 - 15 นาที เป็นเวลา 5 วันติดต่อกัน
                                                                              
3.การใช้แผน
-เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น
-นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
-แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
-จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
-ต้องมีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถ โดยคำนึงถึง
1.ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
2.ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
3.อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก

4.การประเมินผล
-โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
-ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล
** การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรมอาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน**

การจัดทำ IEP
1. การรวบรวมข้อมูล
2. การจัดทำแผน
3. การใช้แผน
4. การประเมิน

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
 - สามารถนำเอาความรู้ในการเขียนแผนIEP ไปใช้กับเด็กพิเศษได้ในอนาคต
 - สามารถนำเอาความรู้ในการเขียนแผนระยะสั้นและระยะยาวไปเขียนให้ตรงกับความสามารถของเด็กแต่ละคนได้
 - สามารถนำเอาตัวอย่างการเขียนแผนไปเป็นแนวทางในการสร้างแผนIEPให้กับเด็กพิเศษได้
 - ทำให้รู้ว่าเมื่อเขียนแผนIEP เสร็จทุกครั้งต้องมีการประชุมผู้ปกครองเพื่อให้ผู้ปกครองรับทราบถึงแผนที่ครูได้เขียนขึ้นมาเพื่อที่จะใช้กับลูกของเขาว่าผู้ปกครองจะยอมรับในแผนที่ครูเขียนขึ้นให้กับลูกของตนหรือไม่
 - ทำให้รู้ว่าการเขียนแผนIEP ให้กับเด็กนั้นครูต้องเข้าใจเด็กถึงจะเขียนแผนIEP ให้กับเด็กคนนั้นได้


การประเมินการเรียนการสอน
ตนเอง = เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อยและตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอนในเรื่องของแผนIEP พร้อมจดบันทึกในประเดนที่สำคัญและให้ความร่วมมือเพื่อนในการเขียนแผนIEP กลุ่มเป็นอย่างดี
 เพื่อน  = เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่ก็มีบางคนมาสายแต่เป็นส่วนน้อย ทุกคนแต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจเรียนและจดบันทึกความรู้ที่ครูสอนและยังช่วยกันเขียนแผนIEPกลุ่มอย่างตั้งใจกันทุกกลุ่ม
 อาจารย์ = เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกาสุภาพเรียบร้อย ในการสอนแต่ละครั้งอาจารย์จะมีการยกเหตุการณ์ตัวอย่างมาอธิบายให้นักศึกษาได้เข้าใจกับสถานการณ์จริงว่าวันข้างหน้าเราจะเจอกับเหตุการณ์ใดบ้างและจะมีวิธีรับมือกับเหตุการณ์นั้นอย่างไรและยังให้คำแนะนำในการเขียนแผนIEP เป็นอย่างดี